วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาในการประเมินหลักสูตร

การประเมินหลักสูตรมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการจัดการศึกษา  เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการควบคุมคุณภาพ  การประกันคุณภาพของการศึกษาหลาย ๆ ระดับ  ตั้งแต่ระดับห้องเรียน  ระดับโรงเรียน  ระดับเขตจนถึงระดับชาติ  ผู้ที่มีบทบาทในการประเมินทั้งในระดับผู้จัดทำนโยบายการศึกษา       ผู้กำกับดูแล  จนถึงระดับผู้ปฏิบัติ  จึงควรทำความเข้าใจกับประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของ  การประเมินหลักสูตรให้ชัดเจน  เพื่อจะได้กำหนดวางแผนการประเมินหลักสูตรที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการประเมิน และสามารถนำผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ได้จริง  แต่ในการประเมินหลักสูตรนั้นก็พบปัญหาต่างๆ  ที่ทำให้ผลการประเมินนั้นคลาดเคลื่อนและบิดเบือนจากความเป็นจริงทำให้การตัดสินคุณค่าของการประเมินนั้นผอดพลาด ซึ่งมักพบปัญหาในการประเมินดังนี้
1. ปัญหาด้านการวางแผนการประเมินหลักสูตร การประเมินหลักสูตรมักไม่มีการวางแผนล่วงหน้า ทำให้ขาดความรอบคอบในการประเมินผล และไม่ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการประเมินมักไม่มีกรอบการประเมิน ถึงเวลาต้องการข้อมูลก็ทำการประเมินเลยจึงได้ข้อมูลที่ผิวเผินและบิดเบือน
2. ปัญหาด้านเวลา การกำหนดเวลาไม่เหมาะสม การประเมินหลักสูตรไม่เสร็จ การวางแผนการประเมินได้อ้างอิงเวลาตามปฏิทินของส่วนกลาง ซึ่งการปฏิบัติจริงผู้เรียนได้ปิดภาคเรียนไปแล้วทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรได้
3. ปัญหาด้านความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการการประเมิน คณะกรรมการการประเมินหลักสูตรไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตรที่จะประเมิน และไม่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินผลทำให้ผลการประเมินที่ได้ไม่น่าเชื่อถือ ขาดความรอบคอบ ซึ่งมีผลทำให้การแก้ไขปรับปรุงของหลักสูตรไม่ตรงประเด็น
4. ปัญหาด้านความเที่ยงตรงของข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินไม่เที่ยงตรงเนื่องจากผู้ประเมินมีความกลัวเกี่ยวกับผลการประเมินจึงทำให้ไม่ได้เสนอข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง หรือผู้ถูกประเมินกลัวว่าผลการประเมินออกมาไม่ดี จึงให้ข้อมูลไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง
5. ปัญหาด้านวิธีการประเมิน การประเมินหลักสูตรส่วนมากมาจากการประเมินในเชิงปริมาณ ทำให้ได้ข้อค้นพบที่ผิวเผิน จึงควรมีการประเมินผลที่ใช้วิธีการประเมินในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพควบคู่กันเพื่อผลที่ได้จะสมบูรณ์และเป็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. ปัญหาด้านวิธีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบ การประเมินหลักสูตรทั้งระบบมีการดำเนินน้อยมาก ส่วนมากมักจะประเมินเฉพาะด้าน เช่น ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นหลัก ทำให้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
7. ปัญหาด้านการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการประเมินหลักสูตรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมักไม่ประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ทำเพียงระยะใดระยะหนึ่งเท่านั้นไม่มีการประเมินต่อเนื่องเพื่อให้ได้ทราบคุณภาพของหลักสูตรที่จัดมีข้อปรุงเรื่องใดในระยะใด ส่วนใหญ่มักเป็นการประเมินเมื่อสิ้นสุดการใช้หลักสูตรเพียงครั้งเดียวเท่านั้นและไม่ทำการประเมินอีกเลยจนกว่าจะมีการเปลี่ยนหลักสูตร
8. ปัญหาด้านเกณฑ์การประเมิน เกณฑ์การประเมินหลักสูตรไม่ชัดเจน ทำให้ผลการประเมินไม่เป็นที่ยอมรับและไม่ได้นำผลไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร
9.  ปัญหาไม่แจ้งเกณฑ์การประเมินล่วงหน้า การประเมินหลังสูตรจะต้องแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทราบล่วงหน้าในบางเรื่องที่ทำการประเมินมักมีผลต่อการสร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากรหรือมีผลต่อการพิจารณาความชอบ จึงต้องมีการแจ้งเกณฑ์ล่วงหน้า เพื่อให้เตรียมตัวรับการประเมินได้อย่างตรงจุด
10.  ปัญหาด้านเครื่องมือ เครื่องมือที่นำมาใช้มักเป็นเครื่องมือที่ไม่ได้ตรวจสอบคุณภาพ หรือบางครั้งสร้างเครื่องมือแบบผ่อนไปที ทำข้นมาให้เพียงนำมาประเมินให้เสร็จๆไป ซึ่งเมื่อนำข้อมูลจากการประเมินมาใช้มักจะพัฒนาปรับปรุงได้ไม่ตรงจุด
จากปัญหาที่ได้กล่าวมานั้นผู้ประเมินที่จะทำการประเมินหลักสูตรใดๆ เพื่อให้ได้ผลที่สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุดผู้ประเมินต้องทำการควบคุมขั้นตอนการประเมินและมีการออกแบบการประเมินให้ชัดเจน คำนึงถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นด้วย ป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้ข้อมูลสาระสนเทศที่ตรงประเด็นให้มากที่สุดและจะต้องทำการประเมินให้ครอบคลุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้มีการพัมนาหลักสูตรให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความสำคัญของการประเมินหลักสูตร

หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการศึกษา เพราะเป็นการขยายแนวคิดในการจัดการศึกษาหรือปรัชญาการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ ดังนั้นหากสามารถสร้างหลักสูตรที่ดีได้ย่อมจะทำให้การจัดการศึกษาบรรลุตามจุดประสงค์ที่วางไว้ การที่จะทราบได้ว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นไว้นั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใดนั้น จึงจำเป็นต้องมีการประเมินผล การประเมินหลักสูตรมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการจัดการศึกษา เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการควบคุมคุณภาพ  การประกันคุณภาพของการศึกษาหลาย ๆ ระดับ  ตั้งแต่ระดับห้องเรียน  ระดับโรงเรียน  ระดับเขตจนถึงระดับชาติ  ผู้ที่มีบทบาทในการประเมินทั้งในระดับผู้จัดทำนโยบายการศึกษา  ผู้กำกับดูแล  จนถึงระดับผู้ปฏิบัติ  จึงควรทำความเข้าใจกับประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการประเมินหลักสูตรให้ชัดเจน  เพื่อจะได้กำหนดวางแผนการประเมินหลักสูตรที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการประเมิน และสามารถนำผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ได้จริงดังนั้น การประเมินผลหลักสูตรจึงเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และเนื่องจากหลักสูตรนั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ไม่สามารถกำหนดไว้ตายตัวได้ การพัฒนาหลักสูตรจึงเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปตั้งแต่การสร้างหลักสูตรจนถึงการนำไปใช้ในโรงเรียน
                โรงเรียนใดที่มีการประเมินหลักสูตรก็จะมีการพัฒนาทางวิชาการต่างๆได้ดีขึ้นตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางด้านวิชาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะสูงขึ้นทุกๆ ปีอย่างต่อเนื่อง